ปัจจุบันบล็อกเชนไม่ใช่เทคโนโลยีฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเผื่อรองรับการทำงานของการโอนมูลค่าเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของ ‘อีเธอเรียม’ (Ethereum) บล็อกเชนสามารถที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการเขียน Smart Contract เพื่อสร้างแอพพลิเคชันไร้ตัวกลาง (Decentralize Application) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวงการบล็อกเชน ที่โลกของเราได้รู้จักกับ DeFi, GameFi, Metaverse หรือแม้กระทั่ง NFT จนทำให้ความต้องการในการใช้บล็อกเชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูน

สังเกตได้จากบล็อกเชนโปรโตคอล (Blockchain  Protocol) ที่เปิดให้บริการในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายเหลือเกิน จนสามารถที่จะแย่งส่วนแบ่งการใช้งานจากอีเธอเรียมที่เป็นบล็อกเชนสาย Smart Contract ตัวแรก เพราะการใช้งานที่เร็วกว่า ง่ายกว่า และต้นทุนต่ำกว่า อย่างเช่น BNB Chain, Avalanche, Solana, Cardano และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งบล็อกเชนแต่ละตัวก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป และการบล็อกเชนแต่ละตัวยังคงทำงานกันอย่างเป็นเอกเทศไม่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ แม้จะมีฟังก์ชันในการสร้าง ‘สะพาน’ (Bridge) ในการทำธุรกรรมข้ามเชน แต่ยังคงไม่ราบรื่นมากนัก

จึงได้เกิดเป็นแนวคิดที่จะทำให้บล็อกเชนทุกตัวเชื่อมโยงเข้าด้วยกันทั้งในด้านการทำงาน และการแชร์ฐานข้อมูลร่วมกัน เกิดขึ้นอย่างบล็อกเชนอย่าง Polkadot, Cosmos และ NEAR Protocol ซึ่งแม้ว่ากลไกในการทำงานของบล็อกเชนทั้งสามตัวนั้นจะแตกต่างกัน แต่เป้าหมายคือการทำให้บล็อกเชนทุกตัวบนโลกสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น 

ในส่วนของบล็อกเชน Polkadot มองว่าบล็อกเชนแต่ละตัวสามารถบริหารตัวเองได้เช่นเดิม แต่ Pokaldot จะเข้ามาเชื่อมบล็อกเชนแต่ละตัวเข้าด้วยกันพร้อมกับดูแลด้านความปลอดภัยร่วมกันกับบล็อกเชนที่เชื่อมต่อกันที่เรียกว่า ‘Relay Chain’ พร้อมกับสร้าง ‘Parachain’ หรือข้อกำหนดทางด้านภาษาโค้ดดิ้งที่ใช้ในการพัฒนาเพื่อที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยมีการกำหนดไว้ว่าจะมีเพียง 100 บล็อกเชนเท่านั้นที่สามารถจะมาเข้าร่วมกับ Polkadot ได้ ซึ่งผู้ที่ถือเหรียญ Dot สามารถที่จะกำหนดแนวทางการทำงานของ Pokaldot Blockchain ได้ เสมือนกับการทำประชามตินั่นเอง 

แต่สำหรับ Cosmos Blockchain กลับมีแนวคิดที่ต้องการจะสร้าง ‘Internet Of Blockchain’ ที่เปิดให้ทุกเชนสามารถเข้ามาร่วมแชร์ฐานข้อมูลกันได้อย่างอิสระ และคิดว่าการใช้งานบล็อกเชนควรจะง่ายเหมือนกับการใช้งานอินเตอร์เน็ต จุดที่แตกต่างกันกับ Polkadot คือ Cosmos มีการรองรับภาษาโค้ดดิ้งที่ใช้เพื่อพัฒนาหลากหลายภาษา ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันเหมือนกับ Parachain 

และบล็อกเชนตัวสุดท้ายที่เราจะมาพูดถึงกันอย่าง NEAR Protocol นั้นถูกสร้างมาด้วยแนวคิดที่แตกต่างกันจาก Cosmos และ Polkadot เพราะ NEAR ไม่ได้ต้องการที่จะรวมบล็อกเชนเข้าด้วยกัน แต่ NEAR จะเป็น ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ (Infrastructure) ในการสร้างบล็อกเชนที่เรียกได้ว่าเป็น ‘Developer Friendly’ ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถที่จะสร้าง Decentralize Application จากระบบนิเวศของ NEAR ได้อย่างสะดวกสบาย และทำให้การแชร์ข้อมูลสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิมเพราะมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Decentralize Cloud ที่กระจายศูนย์ และเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

การทำงานของบล็อกเชนในอนาคตจึงไม่ใช้การสร้างบล็อกเชนที่ดีที่สุด หรือกระจายตัวที่สุดแต่เป็นการที่รวมทุกเชนเข้าด้วยกันให้สามารถทำงานกันได้อย่างราบรื่น และนำข้อดีข้อแต่ละบล็อกเชนเข้าด้วยกันเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าบริการที่ตำ่ หรือช่วยให้ฝั่งของทางนักพัฒนาสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับโลกนี้ได้มากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา:

https://sputnikth.com/index.php/2021/07/24/what-is-atom-coin/ 

https://sputnikth.com/index.php/2021/11/17/near-coin/ 

https://sputnikth.com/index.php/2021/10/19/harmony-one-coin/ 

https://th.bitcoinethereumnews.com/technology/what-is-the-multi-chain-universe/

https://timdaub.github.io/2022/01/02/multichain-future/

https://blockworks.co/ethereums-role-in-a-multi-chain-future/

https://thaibitcast.com/2021/12/31/polkadot-คืออะไร-สำคัญยังไง-รู้

https://www.moneybuffalo.in.th/cryptocurrency/analysis-dot-vs-atom-vs-near-who-will-win-in-the-blockchain-3-0-era 

ภาพ: Getty Image

TheMomentum, Cryptonian, StayCuriousBeOpen, Blockchain3, Polkadot, Cosmos, NEAR 

Tags: , , , , , ,