ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่มีวัคซีนที่นำมาใช้ต่อต้านหรือป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง โดยปัจจุบันนี้ในหลากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยใช้ยาต้านไวรัสทั้งไวรัสเอชไอวี ไข้หวัดใหญ่ ซาร์ส หรืออีโบล่า มาเป็นยาที่ใช้รักษาโควิด-19 และนำมาเป็นฐานในการพัฒนาวัคซีน
แต่ถึงอย่างนั้นก็เกิดความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนและมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างๆ ร่วมกันวิจัยวัคซีนต้านไวรัสและป้องกันไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีการวิจัยมาตั้งแต่ช่วงระยะเริ่มต้นการระบาด ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความคืบหน้า แต่ตามรายงายของ BBC กล่าวว่า แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ทันก่อนช่วงคริสต์มาสในปีนี้ แต่กระบวนการในการผลิตระดับมหาชนเพื่อที่จะแจกจ่ายนำไปใช้นั้นก็จะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยเลยทีเดียว มาดูกันว่าความคืบหน้าของแต่ละประเทศในการวิจัยวัคซีนโควิด-19 นั้นถึงไหนกันแล้ว
ประเทศไทย
องค์การเภสัชกรรมเผยได้นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ไว้แล้ว 40,000 เม็ด สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 800 คนไทยพร้อมที่จะเป็นผู้ผลิตหากวัตถุดิบเพียงพอ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ยืนยันว่า ยาต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รัฐบาลจีนได้บริจาคให้แก่ประเทศไทย ได้ถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้วและยังนอกจากนี้ยังมีการสั่งซื้อยาต้านจากจีนเพิ่มอีกด้วย
ในวันที่ 6 มีนาคม 2563 นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมได้เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรมได้ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค ให้มีการสำรองยาดังกล่าวจำนวน 40,000 เม็ด สามารถใช้กับผู้ป่วยได้ 800 คน พร้อมยืนยันว่าประเทศไทยมีประสิทธิภาพและพื้นที่ที่จะผลิตยาดังกล่าวได้ตามมาตรฐาน GMP หากมีวัตถุดิบเพียงพอ
นอกจากนี้องค์การเภสัชกรรม ยังได้เร่งกำลังการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ โลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (Lopinavir/ritonavir) และยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาที่ รพ.ราชวิถี ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ผล รวมถึงมีการผลิตยาคลอโรควิน (Chloroquine) ซึ่งใช้เป็นยารักษามาลาเรียอีกด้วย
ในส่วนของการวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย นายแพทย์ สุขุม กาญจนพิมายปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กล่าวว่ามีการลงนามความร่วมมือการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ร่วมกับผู้แทน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ บริษัท ไบโอเนท–เอเชีย จำกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาวัคซีนนี้ต่อไป
นอกจากนี้ในการพัฒนาวัคซีนนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้เป็นประเทศแรกของโลก หากไม่นับประเทศจีนและการเพาะเชื้อสำเร็จในครั้งนี้จะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสได้อนาคต
ประเทศจีน
มหาวิทยาลัยเทียนจีนในประเทศจีน เผยว่าประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านไวรัสชนิดรับประทานโดยอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์หนังสือพิมพ์ Global Times รายงานว่ามหาวิทยาลัยเทียนจิน ในประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนชนิดรับประทานต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย หวงจินไห่ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยได้ทดสอบวัคซีนตัวนี้กับตนเอง และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ และทางมหาวิทยาลัยเทียนจินกำลังมองหาหุ้นส่วนเพื่อผลักดันในขั้นตอนระดับคลีนิคและนำไปใช้ในวงกว้างต่อไป พร้อมระบุว่า มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและสามารถผลิตในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่า แม้กระบวนการการพัฒนาจะสำเร็จ แต่ กระบวนการทดสอบอาจจะต้องใช้เวลาในการการทดสอบประมาณ 18 เดือน หรือนานกว่านั้น
อิสราเอล
นักวิทยาศาสตร์สถาบันในสถาบันวิจัย MIGALในอิสราเอลคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด – 19 ได้ภายใน8-10 สัปดาห์ ในวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา Pharmaceutical-Technology ได้รายงานว่านักวิทยาศาสตร์สถาบันในสถาบันวิจัย MIGALในประเทศอิสราเอลคาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนโควิด-19 ในอีก 8-10 สัปดาห์ข้างหน้าโดยการค้นพบยาครั้งนี้เป็นผลพลอยได้จากการวิจัยและพัฒนาวัคซีน IBV (Infectious bronchitis virus) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบที่ติดต่อในไก่ ในขณะนี้สถาบัน MIGAL ได้ทำการปรับแต่งพันธุกรรมให้เป็นโควิด-19 และกำลังดำเนินการรับรองความปลอดภัยเพื่อที่จะนำมาใช้ในการทดสอบร่างกายมนุษย์เพื่อนำมาใช้ต่อต้านโควิด-19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก
อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์คริสติน แมคคาร์ธี กุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญในโรคติดเชื้อและวัคซีนที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวถึงการพัฒนาครั้งนี้ ว่าเป็นการพัฒนาที่น่าสนใจมาก แต่กรอบเวลา 8-10 สัปดาห์สำหรับการทดลองและการจัดจำหน่ายให้ผู้ที่ต้องการวัคซีน นั้นยังเร็วเกินไป
สหรัฐอเมริกาและจีน
บริษัท Inovio Pharmaceuticals Inc และบริษัท Beijing Advaccine Biotechnology จับมือกันพัฒนาวัคซีน INO-4800 โดย บริษัท Inovio Pharmaceuticals Inc บริษัทยาที่ตั้งอยู่ในรัฐเพลซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศกำหนดการเวลาเร่งด่วนสำหรับการพัฒนาวัคซีน INO-4800 สำหรับไวรัสโควิด – 19
บริษัท Inovio ประกาศเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่ากำลังพัฒนาวัคซีน INO-4800 ร่วมกับ Beijing Advaccine Biotechnology ในตอนนั้นบริษัท Beijing Advaccine กล่าวว่าได้เริ่มการทดสอบสัตว์และกำลังเตรียมผลิตภัณฑ์ทางคลินิกสำหรับการทดลองระยะที่ 1 ที่วางแผนไว้ในประเทศจีน และยังเพิ่มความพยายามในการพัฒนาทางคลินิกในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย Inovio เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่กำลังพัฒนาวิธีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับโควิด-19 ทำให้หุ้น Inovio กระโดดขึ้น 18.68% เป็น 5.21 ดอลลาร์ ณ ช่วงเวลาของการประกาศความร่วมมือ
โดยมีการประกาศกำหนดการโดยดร. โจเซฟ คิม ผู้บริหารของบริษัท Inovio ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่าทางบริษัทจะมีการทดลองใช้ในมนุษย์ในเดือนมีนาคมนี้ และจะสรุปผลการทดลองในการทดลองในมนุษย์และตีพิมพ์ในฤดูใบไม้ร่วง 2020 ซึ่งหากเป็นไปตามแผน จะสามารถผลิตวัคซีน INO-4800 ในปริมาณ 1 ล้านโดสในสิ้นปีนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังเป็นการวางแผนในระยะสั้นที่สุด
นอกจากนี้บริษัท Moderna Therapeutics จากสหรัฐฯ ได้ส่งมอบวัคซีนโควิด – 19 ให้กับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อ (NIAID) สำหรับทดสอบในมนุษย์ช่วงเดือนเมษายน
ตัววัคซีน Civid-19 จากบริษัท Moderna Therapeutics ถูกส่งไปพัฒนาต่อที่สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อ (NIAID) หนึ่งในหน่วยงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในเมืองบีเทสด้า รัฐแมรี่แลนด์ โดยนักวิทยาศาสตร์ของ NIH กำลังทดสอบยาต้านไวรัสที่เรียกว่า ‘Remdesivie’ ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ติดเชื้อ Ebola โดยตอนนี้จะนำมาใช้ในผู้ติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ทางสหรัฐฯ เตรียมทดลองยา Remdesivir โดยส่งให้ศูนย์การแพทย์กว่า 50 แห่งทั่วโลกสำหรับการทดสอบเป็นยาต้านไวรัส โดยองค์กรอนามัยโลกกล่าวว่า ตัวยา remdesivir เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัส หลังเคยใช้ทดสอบผู้ป่วย 2 คนในอู่ฮั่น และเป็นตัวยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในสหรัฐฯ อีกด้วย ซึ่งหลังการรักษา ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ในสหรัฐฯ ยังมีการใช้ยา Kaletraซึ่งเป็นการรวมของตัวยาสองชนิดที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งมีการทดลองนำไปใช้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในประเทศจีนแล้วด้วย
แคนาดาและออสเตรีย
มหาวิทยาลัย British Columbia ในแคนาดา ร่วมมือกับบริษัท Apeiron Biologics ประเทศออสเตรียพัฒนาวัคซีน APN01
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย British Columbia ในแคนาดาร่วมมือกับบริษัท Apeiron Biologics ประเทศออสเตรียพัฒนาวัคซีน APN01 สำหรับรักษาผู้ป่วยจากเชื้อโควิด-19 ในจีน โดยดร. โจเซฟ เพนนิงเกอร์ ผู้อำนวยการจากสถาบัน UBC Life Sciences เป็นผู้ค้นพบตัวยา APN01 ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโตและ Peking Medical Union
ดร. โจเซฟกล่าวว่าตัวยาเริ่มพัฒนาจากการไวรัสซาร์ที่ใช้ ACE2 ทำให้วิธีการบำบัดผู้ติดเชื้อโควิด – 19 จึงใช้ ACE2 ในการสร้างวัคซีนรักษา คาดการณ์ว่าวตัวยา APN01 จะสามารถลดเชื้อไวรัส และป้องกันการติดเชื้อที่จะทำลายปอด
ยาฟาวิพิราเวียร์
ตอนนี้มีการพูดถึงยาฟาวิพิราเวียร์ กันค่อนข้างมาก ซึ่งมีการทดลองใช้ทั้งในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ (Favipiravir) ที่รู้จักกันในชื่อ T-705 หรือ Avigan เป็นยาต้านไวรัสที่พัฒนาโดยบริษัทโตยามะเคมิคอล ประเทศญี่ปุ่น
ยาฟาวิพิราเวียร์ถูกผลิดโดยบริษัทโตยามะเคมิคอล ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการพัฒนาและนำมาทดลองในมนุษย์ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวยาฟาวิพิราเวียร์มีฤทธิ์ยับยั้ง RNA-dependent RNA polymerase ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวน และกระจายไปทั่วร่างกายได้ โดยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ สำนักงานบริหารผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของจีนได้รับรองว่า ยาตัวนี้สามารถที่จะต่อต้านไว้รัสโควิด – 19 ได้ และในปัจจุบันบริษัทเจ้อเจียงไฮ่ซุน บริษัทเวชกรรมยักษ์ใหญ่ของจีน ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในการผลิตตัวยาและจัดจำหน่าย
Tags: โคโรนาไวรัส, โควิด-19, วัคซีนโควิด-19, ยาฟาวิพิราเวียร์