โลกใช้เวลานับพันปีกว่าจะมีประชากร 5 พันล้านคน ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1987 แต่เพียงอีก 32 ปีหลังจากนั้นประชากรใกล้แตะตัวเลข 8 พันล้านคน

การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรโลกนี้ ทำให้องค์การสหประชาชาติได้กำหนดวันที่ 11 กรฎาคม ของทุกปีให้เป็นวันประชากรโลกเพื่อปลุกจิตสำนึกในปัญหาเรื่องประชากรล้นโลก เพราะตัวเลขประชากรโลกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีถึง 7.7 พันล้านคน เป็นตัวเลขที่หากคำนวณตามอัตรการเติบโตตั้งแต่ปี 1987 นั้นจะพบว่าโลกเราจะมีประชากร 7.7 พันล้านคนในปี 2262 ต่างหาก เท่ากับว่าอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรนั้นเร่งสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และด้วยอัตรานี้จะทำให้ภายในปี 2050 นี้โลกจะมีประชากรสูงถึง 8 พันล้านคนเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าจำนวนประชากรโลก 8 พันล้านคนจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลในหลายๆ ด้านต่อโลกใบนี้

จากการรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่า 27 ประเทศมีประชากรลดลง 1%  หรือมากกว่านั้นตั้งแต่ปี 2010 การลดลงนี้เกิดจากอัตราการเกิดของประชากรตกลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศจีน และญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อดูอัตราการเกิดของประชากรในระดับโลกจะพบว่าตัวเลขตกลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยในปี 1990 ผู้หญิงหนึ่งคนมีอัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 3.2 ในขณะที่ในปีนี้ 2019 ลดลงเหลือ 2.5 เท่านั้น และคาดว่าจะลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต แต่การลดลงเหล่านี้ก็ถูกแทนที่ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ เช่น ประชากรในแถบซาฮาราขอวงแอฟริกา ซึ่งจะมีอัตราการเติบโตสูงเป็นสองเท่าภายในปี 2025  ซึ่งอัตราการเติบโตของประชากรโลกมาจาก 9 ประเทศ ซึ่ง 5ใน 9 นั้นเป็นประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งก็คือไนจีเรีย คองโก เอธิโอเปีย อียิปต์ และแทนซาเนีย ที่เหลือคือ อินเดีย ปากีสถาน อินโดนิเซีย  และสหรัฐอเมริกา และคาดว่าในปี 2027 อินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรสูงที่สุดในโลกแซงหน้าจีน ซึ่งมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงเรื่อยๆ 

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตนั้น จะเป็นประชากรผู้สูงอายุ เท่ากับว่าโลกกำลังเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

 นี้จะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ เนื่องด้วยมีวัยทำงานน้อยกว่า และค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพจะสูงกว่าอีกด้วย โดยในปี 2050 คาดว่า 1 ใน 4 คนของประชากรในยุโรปและอเมริกาเหนือจะมีอายุมากกว่า 65 ปี 

ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอายุขัยของมนุษย์มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 72.6 ปี เป็น 77.1 ปีในปี 2025 แต่สำหรับในประเทศด้อยพัฒนานั้นค่าอายุขัยเฉลี่ยตำ่กว่าอายุขัยเฉลี่ยของโลกถึง 7.4 ปีเลยทีเดียว ซึ่งองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการเสียชีวิตของเด็กและมารดาในระดับสูงพร้อมกับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและความรุนแรงในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

จากรายงานขององค์การสหประชาชาตินี้ เราจะเห็นได้ว่านอกจากอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลกซึ่งจะมีผลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม มี่อยู่อาศัย การใช้ทรัพยากรโลก ฯลฯ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คืออัตราการเติบโตของประชากรโลกเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งจทำให้ความพยายามในการแก้ปัญหาความยากจน การศึกษา สาธารณสุข คุณภาพชีวิตเป็นไปได้ยากมากขึ้นไปอีก 

อ้างอิง

https://edition.cnn.com/2019/07/11/world/world-population-day-trnd/index.html

https://www.usatoday.com/story/news/world/2019/07/11/top-25-countries-where-women-outnumber-men/39667427/

https://nationalpost.com/news/world/global-population-nears-8-billion-with-projections-set-to-reach-11-billion-in-30-years

ภาพ : GETTYIMAGES

Tags: ,