ภาพของบุคลากรทางการแพทย์ที่สวมถุงมือยางเมื่อต้องสัมผัสกับคนไข้ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่สวมถุงมือยางเวลาทำการทดลองน่าจะเป็นที่คุ้นตาของคนทั่วไป แต่จะมีใครเคยคิดถึงเบื้องหลังของอุปกรณ์ที่ดูเหมือนจะเรียบง่ายอย่างถุงมือยางบ้างว่า แท้จริงแล้วการที่ทุกโรงพยาบาลและคลินิกทั่วประเทศหรือแม้แต่ภาพรวมของการใช้งานทั้งโลก การที่จะมีถุงมือยางที่มีคุณภาพและมีใช้อย่างเพียงพอนั้นจะต้องมีกำลังการผลิตมหาศาลขนาดไหน แล้วถุงมือยางที่เราเห็นมีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะมาชวนคุณทำความรู้จักถุงมือยาง ผ่าน ‘ศรีตรังโกลฟส์’ (STGT) ผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่อันดับหนึ่งในประเทศไทยและเป็นผู้ผลิตถุงมือยางที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมของอุตสาหกรรมถุงมือยางทั่วโลก ที่ตอนนี้มีปัจจัยสำคัญคือการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขอนามัยรวมถึงถุงมือยางที่สูงขึ้น โดยสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งมาเลเซียหรือ Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) ได้สรุปความต้องการถุงมือยางทั่วโลกในปี 2562 ว่าอยู่ที่ประมาณ 300,000 ล้านชิ้นต่อปี มีการเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี จากปี 2559 ที่มีความต้องการใช้ 212,000 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่ง ณ 31 ธันวาคม 2562 ศรีตรังโกลฟส์มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 27,153 ล้านชิ้นต่อปี และตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็น 50,000 ล้านชิ้น ภายในปี 2568 และ 100,000 ล้านชิ้น ภายในปี 2575

ถุงมือยางจำนวนมหาศาลที่เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นถุงมือยางเหมือนๆ กันทั้งหมด แต่มีดีเทลที่แตกต่างกันในแต่ละการใช้งาน โดยแบ่งเป็นถุงมือยางธรรมชาติ (Latex Glove) ใช้วัตถุดิบหลักคือ น้ำยางข้น (Concentrated Latex) ประกอบด้วย ถุงมือยางธรรมชาติชนิดมีแป้ง (Latex Powdered Glove) และถุงมือยางธรรมชาติชนิดไม่มีแป้ง (Latex Powder Free Glove) ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ ถุงมือยางสังเคราะห์ (Nitrile Glove) ที่ผลิตจากน้ำยางไนไตรล์ (Nitrile Butadiene Rubber) ซึ่งเป็นน้ำยางสังเคราะห์ โดยสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานเป็น 2 ประเภทหลักคือ ถุงมือยางสำหรับการตรวจโรค (Examination Glove) และถุงมือยางอเนกประสงค์ (General Propose Disposable Glove)

STGT คือธุรกิจถุงมือยางของคนไทยที่มีความเข้มแข็ง ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี รวมถึงทำเลที่ตั้งโรงงานที่อยู่ในแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถจัดหาน้ำยางข้นได้อย่างต่อเนื่อง มีค่าขนส่งต่ำ ลดต้นทุนค่าจัดเก็บ เพราะสามารถเข้าถึงวัตถุดิบได้ง่าย รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในบางสายการผลิต เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

ผลิตภัณฑ์จากโรงงานของ STGT ถูกจำหน่ายและใช้งานไปทั่วประเทศ และส่งออกไปกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ภายใต้เครื่องหมายการค้าของ STGT บริษัทย่อย และกลุ่ม บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี หรือ STA ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน STGT เช่น ศรีตรังโกลฟส์, ซาโตรี่, I’M GLOVE ฯลฯ และผลิตภัณฑ์ที่รับจ้างผลิต (OEM) โดยผลประกอบการไตรมาส 1/ 2563 มีรายได้รวม 3,760.56 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 25.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 421.89 ล้านบาท เติบโต 184.0%

ความสำเร็จของ STGT เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นตั้งใจภายใต้แนวคิด ‘Touch of Life’ เพราะทุกสัมผัสนั้นมีความหมายต่อชีวิต สื่อถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์ถุงมือยางที่เป็นสัมผัสแรกในการช่วยปกป้องทุกชีวิต โดย STGT ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ เช่น โรงงานสุราษฎร์ธานีเป็นโรงงานแห่งแรกที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001: 2015, โรงงานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้รับรางวัล CSR-DIW Continuous 2 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ ยังได้จับมือกับ STA ร่วมกันพัฒนาและคิดค้นน้ำยางข้นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งเป็นองค์การจัดการด้านป่าไม้ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในเรื่องการบริหารจัดการป่าไม้อย่างรับผิดชอบ 

การมีธุรกิจขนาดใหญ่ มีมาตรฐานในระดับโลก อีกทั้งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรชาวไทยได้ ย่อมเป็นการช่วยสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง มีการสร้างงานให้กับท้องถิ่น ‘STGT’ พร้อมจะเติบโตไปกับโลกยุคใหม่ที่เทคโนโลยีพัฒนาไปพร้อมคุณภาพชีวิตของผู้คนที่มีอายุยืนยาวมากขึ้น

Tags: , , ,