วิศวกรและนักเคมีจากมหาวิทยาลัยกลาสโกลว์ และสแตร์ธไซลด์ ในสกอตแลนด์ร่วมกันประดิษฐ์ ‘ลิ้นเทียม’ สำหรับชิมรสชาติของวิสกี้เพื่อให้ช่วยแยกระหว่างของจริงกับของปลอม

เทคโนโลยีทำให้แยกความแตกต่างระหว่างวิสกี้ที่อายุเท่ากัน แต่บรรจุในถังต่างกันได้ วฺิศวกรให้มันชิมรสชาติมาแล้ว แม่นยำมากกว่า 99% ตอนที่นักวิจัยทดสอบ พวกเขาใช้ลิ้นเทียมตรวจซิงเกิลมอลต์และวิสกี้ 7 ชนิดที่ต่างกัน รวมทั้งน้ำเปล่า วอดก้า 40 ดีกรี และเอทานอลในน้ำ

‘ลิ้นเทียม’ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำด้วยทองคำและอะลูมิเนียม สามารถแยกความแตกต่างระหว่างวิสกี้อายุ 12, 15 และ 18 ปีได้ 

อลาสแดร์ คลาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลาสโกลว์กล่าวว่า มันเป็นลิ้นเทียม เพราะว่ามันทำงานเหมือนกับลิ้นของมนุษย์จริงๆ มันยังไม่สามารถจำแนกสารเคมีเฉพาะตัวได้ เช่น แยกรสกาแฟกับน้ำแอปเปิลไม่ออก แต่มันแยกความแตกต่างระหว่างส่วนผสมทางเคมีที่ซับซ้อนได้

นักวิจัยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ทำให้ลิ้นเทียมที่มีต่อมรับรสที่สามารถแยกรสชาติได้ในระดับนาโน ในการทดสอบ ต้องเทวิสกี้ลงไปในกระดานที่มีรูปแบบเหมือนหมากรุก ซึ่งทำให้โลหะ 2 ชนิด ซึ่งทำหน้าที่เป็นต่อมรับรส ที่เล็กกว่าของมนุษย์ 500 เท่า จากนั้นนักวิจัยก็จะวัดว่า มันดูดซึมแสงมากแค่ไหนขณะจุ่มลงไปในน้ำ 

การที่ลิ้นเทียมสามารถแยกความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของวิสกี้ ทำให้นักวิจัยรู้ความแตกต่างของวิสกี้แต่ละแบบได้ เพราะของเหลวนี้มี ‘ลายนิ้วมือ’ ของตัวเอง ตัววัดจึงสามารถบอกได้ถึงความแตกต่าง ของเหลวแต่ละชนิดที่นำมาทดสอบมีองค์ประกอบขนาดเล็กที่แตกต่างกัน เช่น กลิ่นของสารเคมีที่ทำมาจากพืชคนละชนิด

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวขาญวิสกี้ยังกังขากับประสิทธิภาพของลิ้นเทียมนี้ ชาร์ลส์ แมคลีน ปรมาจารย์ด้านวิสกี้ให้เหตุผลว่า การประเมินรสชาติของวิสกี้ในอุตสาหกรรมนี้ใช้หลายผัสสะ ทั้งการดมกลิ่น ชิม และผิวสัมผัส โดยกลิ่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด 

ลิ้นนี้ใช้ชิมรสของเหลวอื่นๆ ได้อีก นอกจากวิสกี้ เช่น ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร ควบคุมคุณภาพ 

อุปกรณ์นี้ยังสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่พกพาได้ พร้อมด้วยแอปพลิเคชั่นก็จะสามารถแยกแยกสารพิษหรือติดตามสภาพแวดล้อมในแม่น้ำได้

ที่มา:

https://www.bbc.com/news/uk-scotland-glasgow-west-49239925

https://www.theguardian.com/society/2019/aug/06/scientists-develop-artificial-tongue-to-detect-fake-whiskies

https://edition.cnn.com/style/article/artificial-tongue-intl-scli-gbr-scn/index.html

รูป University of Glasgow

Tags: