นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการเปลี่ยนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งให้เป็นของเหลวที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทางการค้าได้ วิธีนี้สามารถช่วยลดมลภาวะจากพลาสติกและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

การกำจัดขยะพลาสติกกว่า 380 ล้านตันต่อปี ซึ่ง 75% เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปัจจุบันใช้วิธีฝังกลบหรือเผา ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืน การวิจัยนี้มาจากความคิดที่ว่า แม้จะมีหลายวิธีที่เราสามารถลดการบริโภคพลาสติกได้ แต่ก็มีหลายอย่างที่ใช้อย่างอื่นทดแทนพลาสติกไม่ได้ ดังนั้นเราต้องการหาว่า เราทำอะไรเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับขยะได้

 เคนเนธ โปปเปลไมเออร์  ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา หัวหน้าทีมวิจัยซึ่งเผยแพร่ข้อค้นพบในวารสารวิชาการ ACS Central Science เมื่อวันที่ 23 ตุลาคมกล่าวว่าว่า ทีมวิจัยยินดีที่พบเทคโนโลยีใหม่ซึ่งช่วยให้แก้ปัญหาขยะพลาสติกสะสมได้

คุณสมบัติที่เป็นพันธะคาร์บอนที่เหนียวแน่นมากทำให้ทำลายพลาสติกย่อยสลายยากและทำให้เกิดไมโครพลาสติก มาสสิโม เดลเฟอโร หนึ่งผู้ร่วมวิจัยในกล่าวว่า ทีมวิจัยหาวิธีนำเอาพลังงานสูงที่ยึดพันธะเหล่านี้ไว้ด้วยกัน โดยการเปลี่ยนโมเลกุลโพลีเอธิลีนไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางการค้าเพิ่มขึ้น นักวิจัยใช้อนุภาคนาโนแพลตินัมสร้างตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งภายใต้อุณหภูมิและความดันปกติสามารถแยกพันธะคาร์บอน แล้วผลิตไฮโดรคาร์บอน ของเหลวคุณภาพสูงขึ้นมา ซึ่งใช้ในน้ำมันเครื่องยนต์ น้ำมันหล่อลื่น ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง

กระบวนการนี้ตัดโพลีเมอร์พลาสติกให้เป็นน้ำมันเหลวที่มีมูลค่า  นอกจากนี้ยังผลิตขยะน้อยกว่าการหลอมละลาย ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและสารพิษได้ โปปเปลไมเออร์กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือของเหลวนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้และมีมูลค่า เราจึงต้องทำความเข้าใจว่าพลาสติกเหล่านี้มีมูลค่า ไม่ควรทิ้งหรือเผา

อย่างไรก็ตามนี่ยังเป็นระยะแรกเท่านั้น แต่การค้นพบครั้งนี้สามารถดึงดูดการลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ที่มา:

https://www.thelondoneconomic.com/news/plastic-waste-could-be-converted-into-lubricants-or-cosmetics/23/10/

https://www.bbc.com/news/science-environment-50143451

https://www.sciencedaily.com/releases/2019/10/191023075131.htm

ภาพ : Mariana Bazo/REUTERS

Tags: , , ,