อิวาน พาร์ นักชีววิทยาจากสมาคมสัตว์ป่าทางตะวันตกพบหนอนทะเลชนิดหนึ่งที่มีชื่อเล่นเข้าใจง่ายว่า ‘ปลาจู๋’ (Fat Innkeeper Worm) จำนวนกว่าพันตัวเกยตื้นตายเกลื่อนหาดเดรก บีช รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม หลังจากที่พายุเพิ่งพัดผ่านไปไม่นาน
ต่อมาเรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยในโลกออนไลน์เมื่อ นิตยสาร Bay Nature รายงานเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ด้วยภาพที่ดึงดูดสายตาผู้คน ทั้งรูปร่างหน้าตาของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ และจำนวนของมันที่ครองพื้นที่เต็มชายหาด
“ปลาชนิดนี้พบทั่วไปในชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ แต่มันดำรงชีพอยู่ใต้ผืนทราย น้อยมากที่คนจะรู้ว่ามันมีอยู่ พายุที่เพิ่งพัดผ่านไปทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนียซึ่งก่อให้เกิดคลื่นแรงมาก จนทำให้ผิวหน้าของทรายลอยออกไป และปลาจู๋จึงโผล่ขึ้นมาบนพื้นผิว”
อันที่จริงปลาจู๋เป็นสัตว์จำพวกหนอนช้อน สปีชีส์ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือชื่อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urechis caupo ขนาดยาว 10 นิ้ว ด้วยรูปร่างของมันและความที่อยู่ในน้ำ จึงถูกเรียกว่า ‘penis fish’ สัตว์ชนิดนี้เป็นอาหารของนกนางนวล แมวน้ำ จนถึงปลาฉลาม คนเกาหลีใต้ก็กินปลาจู๋เช่นกัน โดยนำมากินแบบดิบๆ กับน้ำมันงา เกลือหรือจิ้มกับน้ำส้มสายชูผสมกับโคชูจัง เป็นอาหารที่ชื่อว่าแกบุล
ที่มา:
https://www.instagram.com/p/B58did9BbBA/
https://www.theguardian.com/us-news/2019/dec/12/penis-fish-fat-inkeeper-worms-california-beach
https://www.livescience.com/thousands-of-penis-fish-stranded-california.html
https://technology.inquirer.net/93247/why-thousands-of-penis-fish-appeared-on-a-beach