คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศเมื่อวันที่ตุลาคมนี้ว่า รางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ปี 2019 เป็นของผู้ค้นพบว่าเซลล์รับรู้และปรับตัวให้เข้ากับระดับออกซิเจนได้อย่างไร ซึ่งได้แก่ วิลเลียม แคลิน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปีเตอร์ แรดคลิฟฟ์ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และเกร็ก ซีเมนซา มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์

ที่ผ่านมาเรารู้ว่าออกซิเจนมีความสำคัญอย่างไร แต่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเซลล์ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนอย่างไร ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปีนี้เปิดเผยให้เห็นกลไกของโมเลกุลที่แสดงให้เห็นว่า เซลล์มีการปรับตัวหลายแบบสำหรับปริมาณออกซิเจนที่แตกต่างกัน

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งสามคนนี้พบว่า เมื่อระดับของออกซิเจนลดลง ระดับของโปรตีน HIF จะเพิ่มขึ้น ดีเอ็นเอส่วนหนึ่งที่อยู่ติดกับยีนฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินเป็นสื่อกลางตอบสนองต่อภาวะเลือดขาดออกซิเจน ทั้งนี้ ฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินเป็นยันที่กระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ส่งอ็อกซิเจนไปทั่วร่างกาย 

คณะกรรมการระบุว่า ในปี 2019 ทั้งสามคนนี้ได้ตรวจหากลไกของโมเลกุลที่ควบคุมกิจกรรมของยีนในการตอบสนองต่อระดับของออกซิเจนที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต  

นอกจากจะเป็นการอธิบายกระบวนการพื้นฐานทางสรีรวิทยาแล้ว การเข้าใจกลไกนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างมากทางการแพทย์ เพราะช่วยทำให้นักวิจัยมีความรู้มากขึ้นสำหรับการรักษาโรคโลหิตจาง มะเร็ง และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการในมหาวิทยาลัยและบริษัทยาต่างก็มีความพยายามในการพัฒนายาที่สามารถแทรกแซงกลไกรับรู้ออกซิเจนของเซลล์ ทั้งการทำให้มันทำงานหรือปิดกั้นการทำงาน 

ที่มา:

https://www.theguardian.com/science/2019/oct/07/nobel-prize-in-medicine-awarded-to-hypoxia-researchers

https://edition.cnn.com/2019/10/07/health/nobel-prize-for-medicine-2019-intl/index.html

https://www.nobelprize.org/prizes/medicine/2019/press-release

https://www.thelocal.se/20191007/live-nobel-prize-in-medicine-2019

https://twitter.com/NobelPrize/status/1181140315635376128

ภาพ : TT News Agency/REUTERS

Tags: , ,