นางแบบสาว Liz Kennedy ที่เดินแบบให้กับตัวแบรนด์เบอร์เบอรี (Burberry) เองออกมาโพสต์อินสตาแกรมก่อนที่โชว์จะเริ่ม วิจารณ์ว่า “การฆ่าตัวตายไม่ใช่แฟชัน” แถมยังเพิ่มเติมว่า “อย่าลืมประวัติศาสตร์ที่น่าสยดสยองของการรุมประชาทัณฑ์ที่เคยเกิดขึ้นด้วย” ซึ่ง Marco Gobbetti บอสใหญ่ของแบรนด์ก็ออกมาขอโทษขอโพยอย่างแรงว่า “เราเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราคิดน้อย เราผิดเองจริงๆ”

เบอร์เบอรีปล่อยโชว์คอลเลคชันใหม่ที่ชื่อว่า Tempest ที่ London Fashion Week เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งคอนเซ็ปต์ของแบรนด์มุ่งไปที่เรื่อง “ความขบถและเปรี้ยว teen ของวัยรุ่น” ฝีมือครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของแบรนด์ Riccardo Tisci ที่เพิ่งลงสนามกับเบอร์เบอรีเป็นครั้งที่ 2 ดีไซน์ของคอลเล็กชันนี้ผสมผสานความคลาสสิก และตัดเย็บสไตล์หยาบๆ เพื่อสื่อสารความทันสมัยในลุคแบบสตรีต เขาตั้งใจจะสื่อสารและบอกกับโลกว่านี่คือ “วัยรุ่นวันนี้”

แต่วันนี้วัยรุ่นในลุคแบบนี้ต้องฟาวล์ไปก่อนเพราะทางแบรนด์ได้นำชุดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นร้อนออกไปจากคอลเลคชัน A/W ซึ่งน้อง Liz , นักวิจารณ์และชาวเน็ตอีกหลายๆ คนมีความเห็นว่า ‘คิดเยอะกว่านี้หน่อยดีไหม’

มันไม่ได้ดูแกลมฯ แล้วก็ไม่ได้ดูปังด้วย และถ้าคุณคิดโชว์นี้ขึ้นมาเพื่อเสียงของคนรุ่นใหม่ ฉันขอประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า Riccardo Tisci และทีมงานเบอร์เบอรีทุกคนคะ ฉันจินตนาการไม่ออกเลยว่าพวกคุณปล่อยดีไซน์ที่เหมือนกับบ่วงแขวนคอแบบนี้ออกมาในรันเวย์ได้อย่างไร”

เธอกล่าวและสื่อสารว่าไม่เข้าใจว่าทำไมเบอร์เบอรีซึ่งเป็นแบรนด์พาณิชย์แบรนด์ใหญ่ถึงได้ดีไซน์คอนเซ็ปต์แบบนี้ออกมาในไลน์เสื้อผ้าวัยรุ่น เพราะนี่คือคอนเซ็ปต์ที่สื่อสารกับวัยรุ่นหัวอ่อนที่เชื่ออะไรง่ายไปหมด ไม่นับอัตราการฆ่าตัวตายของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย น้องบอกว่าน้องขึ้นมาก และพยายามที่จะจุดประเด็นนี้ขึ้นมาตอนอยู่ในห้องแต่งตัว

“มันเหมือนกับว่าฉันถูกดึงย้อนไปในประสบการณ์เลวร้ายเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าตัวตายในครอบครัว”

แต่เมื่อเธอพูดขึ้นมา ก็มีเสียงแย้งว่าให้เธอไปเขียนจดหมายฟ้องเอาสิ ถ้าอย่างนั้น

“ฉันได้คุยคร่าวๆ กับคนคนหนึ่งแต่สุดท้ายเขากลับบอกว่า “ก็นี่มันแฟชัน ไม่มีใครมานั่งสนใจหรอกว่าชีวิตเธอเจออะไรมาบ้าง เก็บๆ ไว้กับตัวเองเถอะ” Liz บอกว่าประเด็นนี้มันใหญ่กว่าที่จะเป็นเรื่องส่วนตัวของเธอแล้ว ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องหยิมๆ ที่เธอหัวเสียกับคอลเล็กชันหนึ่งของแบรนด์ แต่ภาพใหญ่ไปกว่านั้นคือการที่วงการแฟชันหูหนวกตาบอดต่อประเด็นอ่อนไหวแบบนี้ หรือแค่ทำเสื้อผ้ามาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากมวลชน

บอสใหญ่ Marco Gobbetti กล่าวว่าเขารีบเรียกนางแบบมาขอโทษทันทีที่รู้ว่ามีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้น พร้อมบอกว่าทางแบรนด์ไม่ได้อยากสะท้อนคุณค่าลักษณะนี้ออกมา

Gucci เองก็เพิ่งจะนำเสื้อสเวตเตอร์ออกจากตลาดไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากได้รับเสียงวิพากษ์หนักมากว่าดีไซน์ล้อเลียนการแต่งหน้าแบบคนดำ (blackface makeup) ส่วนเมื่อเดือนธันวาคม Prada ก็โดนเหมือนกัน หลังจากที่ปล่อยขายตุ๊กตาที่ล่อประเด็นการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งทั้งสองบริษัทก็น้อมประกาศจุดยืนที่จะโอบรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการตระหนักรู้ภายในองค์กรไปตามกระบวนการ

“ฤดูกาลแรกของผมกับเบอร์เบอรีคือการเริ่มต้นด้วยการใช้ภาษาในแบบของผมกับแบรนด์โดยการวิเคราะห์ตัวอักษรและรหัสใหม่ๆ ตอนนี้ผมเริ่มที่จะรวบรวมตัวอักษรเหล่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อรวมเล่มเป็นหนังสือ และสร้างบทแรกให้กับยุคสมัยใหม่ของเบอร์เบอรี”

Riccardo Tisci ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์กล่าวไว้ในเว็บไซต์ burberryplc.com

ที่มา

Tags: , ,