โครงการแพน-แคนเซอร์ (Pan-Cancer Project) ซึ่งมีนักวิจัยทั่วโลกกว่า 1,300 คนร่วมมือกันหาลำดับของจีโนมของมะเร็ง 38 ชนิดของผู้ป่วย 2,700 คน ประสบความสำเร็จในการค้นพบตั้งแต่ตัวเลขและตำแหน่งของสิ่งที่เรียกว่า ‘ตัวเร่ง’การกลายพันธุ์ (driver  mutation) ซึ่งทำให้เซลล์สามารถสืบพันธุ์โดยไม่สามารถควบคุมได้ ไปจนถึงความคล้ายระหว่างเซลล์มะเร็งที่พบได้ในเนื้อเยื่อต่างชนิดกัน

ผลงานที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดและชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีการศึกษาจีโนมของมะเร็ง ข้อมูลมหาศาลนี้และการค้นพบนี้จะช่วยให้สามารถตรวจหามะเร็งที่ยากต่อการวินิจฉัยได้ ทำให้สามารถรักษาแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเร่งที่ทำให้เกิดมะเร็งในมะเร็งแต่ละชนิด และทำให้การตรวจหาพัฒนาการของเนื้องอกได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

“จากข้อมูลนี้ทำให้เรารู้เรื่องต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของเนื้องอก เราสามารถพัฒนาเครื่องมือและการรักษาใหม่ๆ ในการตรวจหามะเร็งได้เร็วขึ้น พัฒนาวิธีรักษามะเร็งแบบเฉพาะเจาะจงให้ได้ผลดียิ่งขึ้น” ลินคอล์น สไตน์ หนึ่งในคณะกรรมการของโครงการกล่าวในแถลงการณ์ที่ออกโดยสถาบันมะเร็งออนตาริโอ

สิ่งที่ทำให้นักวิจัยตื่นเต้นที่สุดคือ ได้รู้ว่าจีโนมมะเร็งของผู้ป่วยคนหนี่งต่างกับจีโนมของผู้ป่วยมะเร็งอีกคนได้อย่างไร งานวิจัยนี้พบส่วนผสมของการกลายเป็นเซลล์มะเร็งของแต่ละคนหลายพันแบบ พร้อมกับ 80 กระบวนการที่ก่อให้เกิดการกลายเป็นเซลล์มะเร็ง บางส่วนเกี่ยวข้องกับอายุ และพันธุกรรม หรือสัมพันธ์กับวิถีชีวิต เช่น การสูบบุหรี่

ในความหลากหลายของมะเร็ง มีหลายจุดร่วมกันที่น่าตื่นเต้น เช่น ในช่วงแรกของการพัฒนาเซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะวินิจฉัยหลายสิบปี แม้กระทั่งในวัยเด็ก เรื่องนี้ทำให้เราสามารถหาทางรักษาได้ตั้งแต่แรกๆ 

การศึกษาลำดับของจีโนมของมะเร็งส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่รหัสโปรตีนพันธุกรรม ซึ่งคิดเป็น 2%  แต่งานนี้เห็นลำดับของจีโนมมะเร็งทั้งหมด นักวิจัยพบความแตกต่างในการกลายเป็นเซลล์มะเร็งจำนวนมากในเซลล์มะเร็งบางชนิด ตั้งแต่เซลล์มะเร็งปริมาณน้อยมากๆ ในปอดของเด็กไปจนถึง 100,000. เซลล์ในมะเร็งตัวอย่าง

ลำดับของจีโนมนี้ยังแสดงให้เห็นว่า มะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีความเหมือนกันมากกว่าที่เคยคิด เช่น การกลายเป็นเซลล์ของมะเร็งปอดกับตัวอาจมีตัวเร่งคล้ายกัน แปลว่ามะเร็งต่างชนิดกันอาจสามารถใช้วิธีรักษาแบบเดียวกันได้

การค้นพบนี้จะช่วยให้สามารถตรวจหามะเร็งที่ยากต่อการวินิจฉัยได้ ทำให้สามารถรักษาแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเร่งที่ทำให้เกิดมะเร็งในมะเร็งแต่ละชนิด และทำให้การตรวจหาพัฒนาการของเนื้องอกได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ที่มา:

https://www.sciencealert.com/decades-long-genome-study-reveals-the-secrets-of-cancer-formation

https://www.nature.com/articles/d41586-020-00213-2

https://www.sciencemag.org/news/2020/02/massive-cancer-genome-study-reveals-how-dna-errors-drive-tumor-growth

ภาพ : gettyimages

Tags: , ,