หิ้งน้ำแข็งอาเมรี (The Amery Ice Shelf) ในแอนตาร์กติกาเพิ่งจะแตก ก่อให้เกิดภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี โดยมีขนาด 1,636 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าเกาะสกาย (Isle of Skyle) ของสก็อตแลนด์เพียงนิดเดียว โดยได้ชื่อว่า D28

Ice shelf หรือ หิ้งน้ำแข็ง เป็นแผ่นน้ำแข็งมีความหนา ลอยตัวเหนือมหาสมุทร ซึ่งก่อตัวเป็นธารน้ำแข็งหรือพืดน้ำแข็งที่ไหลลงสู่ชายฝั่งและบนพื้นผิวมหาสมุทร พบได้ในทวีปแอนตาร์กติกา, กรีนแลนด์, แคนาดา และรัสเซียอาร์กติกเท่านั้น

หิ้งน้ำแข็งอาเมรี เป็นชั้นน้ำแข็งที่ใหญ่เป็นอันดับสามในทวีปแอนตาร์กติกา และเป็นช่องทางระบายน้ำที่สำคัญทางตะวันออกของทวีปในต้นทศวรรษที่ 1960 หิ้งน้ำแข็งอาเมรี เคยแตกและสร้างภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ประมาณ 9,000 ตารางกิโลเมตรมาแล้ว

การสูญเสียภูเขาน้ำแข็งไปในมหาสมุทรเป็นวิธีที่ธารน้ำแข็งเหล่านี้รักษาสมดุลระหว่างปริมาณหิมะที่ตกและทับถมลงมา D28 เป็นส่วนหนึ่งของธารน้ำแข็งที่เรียกว่า ‘ฟันน้ำนม’ เพราะมันมีรูปร่างคล้ายฟันน้ำนมและนักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเป็นส่วนที่แตกและหลุดออกจากหิ้งน้ำแข็งอาเมรี่ ซึ่งศาสตราจารย์เฮเลน ฟริกเกอร์ แห่งสถาบัน Scripps Institution of Oceanography คาดการณ์ไว้ว่า ส่วนที่เรียกว่าฟันน้ำนมนี้น่าจะแตกและหลุดออกในระหว่างปี 2010-2015 และแล้วมันก็แตกออกมาเป็นส่วนที่เรียกว่า D28 ในปีนี้

นักวิจัยของ Scripps ย้ำว่า การแตกตัวของ D28 นี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลดาวเทียมตั้งแต่ปี 1990 แสดงให้เห็นว่า หิ้งน้ำแข็งอาเมรีมีความสมดุลกับสภาพแวดล้อมโดยรอบแม้ว่าพื้นผิวด้านบนจะละลายในช่วงฤดูร้อนก็ตาม 

“แม้ว่ามีหลายสิ่งที่น่าเป็นห่วงในแอนตาร์กติกา แต่การแตกของหิ้งน้ำแข็งอาเมรี ไม่ถือเป็นการเตือนภัยต่อเหตุใดๆ” ศาสตราจารย์เฮเลน ฟริกเกอร์ กล่าวเสริม

แต่การแตกออกมาเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ในครั้งนี้ มีผลต่อรูปทรงของหิ้งน้ำแข็ง โดยเฉพาะด้านหน้า ซึ่งสิ่งนี้อาจมีอิทธิพลต่อรอยแตก หรือแม้แต่ความมั่นคงของส่วนที่เรียกว่าฟันน้ำนม

อ้างอิง

https://www.bbc.com/news/science-environment-49885450

https://www.euronews.com/2019/09/30/massive-iceberg-breaks-away-from-antarctica-s-amery-ice-shelf

https://www.theguardian.com/world/2019/oct/01/giant-iceberg-breaks-off-east-antarctica

ภาพ : NASA

Tags: , ,