แรดขาวเหนือในโลกนี้เหลืออยู่เพียง 2 ตัว ทั้งคู่เป็นตัวเมีย และเป็นหมัน

และหากยังจำกันได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2018 ซูดาน แรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้ายในโลกตายที่เคนยา ทำให้เหลือแรดตัวเมีย ซึ่งก็เป็นลูกของซูดานอยู่เพียง 2 ตัวในโลก ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไปทางตอนกลางของแอฟริกา

ความหวังในเวลานี้คือ ล่าสุด นักสัตววิทยาที่เบอร์ลินประสบความสำเร็จในการผลิตเอมบริโอที่ยังมีชีวิตอยู่ของแรดขาวเหนือ โดยใช้สเต็มเซลล์จากอสุจิที่เก็บจากแรดขาวใต้ การค้นพบนี้ ทำให้มีความหวังว่าจะทำให้แรดขาวที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมา

ทีมวิจัยที่นำโดย โทมัส  ฮิลเดอแบรนท์ สัตวแพทย์จากสวนสัตว์ Leibniz Institute for Zoo and Wildlife Research (IZW) ในเบอร์ลิน ประสบความสำเร็จในการสร้างเอมบริโอที่มีชีวิตจากห้องทดลอง โดยใช้อสุจิของแรดขาวเหนือและไข่ของแรดขาวใต้ที่แช่แข็งไว้ ซึ่งถือเป็นสองสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันที่สุด

ปัจจุบัน ยังมีแรดขาวใต้มากกว่า 20,000 ตัวอยู่ในป่า แต่แรดขาวเหนือลดจำนวนลงจากการล่าสัตว์ จนตอนนี้เหลือแค่ 2 ตัว เรียกได้ว่ากำลังจะสูญพันธุ์

แม้ว่าเอมบริโอนี้จะเป็นพันธุ์ผสม ไม่ใช่แรดขาวเหนือบริสุทธิ์ แต่ก็เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยสามารถสร้างเอมบริโอแบบนี้ได้ หลังทดลองมาแล้วประมาณ 20 ครั้ง

ส่วนแรดขาวใต้ก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนแม่อุ้มบุญในการสร้างลูกแรดที่แข็งแรง ไข่ที่ถูกผสมแล้วต้องปลูกถ่ายอยู่ในร่างกายของแรดตัวเมียที่สุขภาพดี และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังมีแผนจะนำเซลล์ไข่จากแรดขาวเหนือตัวเมียที่ยังมีชีวิตอยู่ และผสมกับอสุจิของแรดสปีชีส์เดียวกัน จากนั้นจะปลูกถ่ายเซลล์ไข่ลงในแรดขาวใต้ตัวเมียที่ผสมพันธุ์ได้ ต้นปี 2019

นักวิจัยตั้งใจจะต่อสู้กับอสุจิคุณภาพต่ำ การปฏิสนธินี้มาจากการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง กระบวนการนี้เรียกว่าการทำอิ๊กซี่ (intracytoplasmic sperm injection-ICSI) ซี่งเป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย วิธีการนี้ก็ใช้เพื่อแก้ปัญหาคนที่มีบุตรยาก

ยังไม่แน่ว่าจะประสบความสำเร็จไหม แม้ว่าจะสร้างลูกแรดที่แข็งแรงได้ แต่ไม่แน่ว่าจะสามารถเก็บลูกแรดขาวไว้ในระยะยาวได้ เพราะอสุจิมาจากแรดที่ความหลากหลายของยีนจำกัด ด้วยยีนที่มีให้เลือกน้อย การผสมพันธุ์ลักษณะนี้นำไปสู่อัตราการเกิดโรคทางพันธุกรรมจากยีนด้อย (recessive disorders) ที่เพิ่มสูงขึ้น และสุขภาพโดยรวมย่ำแย่ลง

วิธีนี้ยังทำให้อัตราการแท้งเพิ่มสูงขึ้น ลดความสามารถในการมีลูกของลูกที่เกิดออกมาด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาเทคโนโลยีสเต็มเซลล์ควบคู่ไปด้วย โดยเพาะอสุจิและเซลล์ไข่จากเซลล์ร่างกายของแรดที่เก็บไว้ แต่ก็ไม่การันตีความสำเร็จ แบบเดียวกับการทดลองโคลนนิ่ง ซึ่งการแท้งลูกและการเสียชีวิตเกิดขึ้นได้

 

ที่มา:

 

บรรยายภาพ: ซูดาน แรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้ายที่เสียชีวิตไปเมื่อเดือนมีนาคม 2018 ภาพโดย REUTERS/Thomas Mukoya

Tags: , , , , ,