จากข่าวที่ผู้เขียนบทหนังเรื่อง Rogue One ออกมาทวิตข้อความที่สื่อถึงการเมืองในสหรัฐอเมริกา และทำให้มีผลต่างๆ ตามมาอีกมากมาย วันนี้ Hollywood Insider เลยจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับบทบาทและการแสดงออกทางการเมืองของเหล่าผู้คนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในวงการฮอลลีวูด ว่าแต่ละคนมีทีท่าอย่างไร จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่สมควรจะแสดงออกไหม และถ้ากลับมามองที่เมืองไทยแล้วคนในวงการบ้านเราควรจะวางตัวอย่างไรกันแน่
Rogue One VS โลกจริง
01.13
หากยังจำกันได้ ช่วงก่อนที่หนัง Rogue One จะฉาย Chris Weitz หนึ่งในทีมเขียนบทได้ทวีตในทวิตเตอร์ของเค้าด้วยการเทียบสถานการณ์จริงกับเรื่องในหนังหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกมาแล้ว โดยเทียบฝ่ายจักรวรรดิเป็นนัยที่สื่อถึงทรัมป์ และ Gary Whitta อีกหนึ่งทีมเขียนบทก็ทวีตต่อเนื่อง เปรียบเทียบฝ่ายต่อต้านเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายซึ่งก็สื่อถึงคลินตัน ก็เกิดเป็นข้อถกเถียงกันในวงการทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งสุดท้ายก็มีผลสืบเนื่องมาถึงสตูดิโอผู้สร้างที่ไม่พอใจนักจากความเสี่ยงที่จะสูญเสียรายได้ จนต้องขอให้ทั้งสองหยุดและขอโทษ
ตัวอย่างของการเลือกข้าง
10.25
เรื่องอื่นๆ ก็พอจะมีเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน บางสตูดิโอก็เลือกที่จะเลือกข้างไปเลย อย่างเช่นตอนนั้นมีกองเชียร์กลุ่ม Out Right ของฝั่งทรัมป์ที่จะคอยเชียร์ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ออกตัวว่าสนับสนุนทรัมป์ สตูดิโอเจ้าของหนัง Ghost Buster ก็เลือกที่จะอยู่ฝั่งนี้ ชาว Out Right ก็ช่วยกันสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ ซึ่งปรากฏว่าออกมาเจ๊งซะงั้น อาจเป็นเพราะกลุ่มผู้สนับสนุนนี้เชียร์ แต่ไม่ใช่กลุ่มที่ออกไปดูหนังก็ได้
คนในวงการบันเทิงสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้มั้ย
13.02
จักรพันธุ์ให้ความเห็นว่าแม้ไม่ใช่คนในวงการบันเทิงก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทั้งนั้น ซึ่งก็อยู่ในดอกจันว่าต้องรับผิดชอบสิ่งที่แสดงออกไป และไม่ก้าวก่ายผู้อื่น แต่ในบ้านเรามันก็มีคำแปลกๆ อย่างคนของประชาชนอยู่ มีคนคอยสนใจเยอะ ก็อาจจะมีราคาค่างวดในการจ่ายเยอะเมื่อแสดงความเห็นออกมาอย่างที่เราได้เห็นกันในหลายๆ เคส ต่างจากในอเมริกาที่แม้จะเห็นต่างกันแต่ก็ยังอยู่กันได้ และคนส่วนมากก็ไม่ได้ด่าทอ แปะป้าย หรือแบนดาราคนนั้นเพราะเชียร์ฝั่งตรงข้าม ผู้ชมสามารถแยกแยะและเคารพได้ต่างจากเมืองไทย ซึ่งเราอาจต้องใช้เวลาในเรื่องนี้ถึงจะนำไปสู่จุดที่อเมริกาเป็นได้
คนในวงการสามารถสอดแทรกความคิดทางการเมืองในผลงานได้รึเปล่า
20.37
จักรพันธุ์ก็ยังมองว่าทำได้ เพราะงานศิลปะมันเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งของศิลปินลงไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการมองโลกหรือสังคม ซึ่งการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาในงานเป็นสิ่งที่ดูหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว คล้ายกับการตั้งสเตตัสที่เกิดจากคำถามถึงความรู้สึกของตัวเอง แล้วหาวิธีเอาออกมา งานศิลปะก็เช่นกัน
ตัวอย่างของทางออก
25.53
มีอีกมุมมองหนึ่งจากเรื่อง Fantastic Beasts and Where to Find Them ก็มีคนตั้งข้อสังเกตเหมือนกันว่า เจ. เค. โรลลิง มีการใส่สัญญะทางการเมืองลงไป ซึ่งทางสตูดิโอก็วางเฉย ถือว่าเป็นเรื่องความคิดตีความของแต่ละคน ก็จบเรื่องไปแบบไม่มีใครบาดเจ็บ
Tags: ภาพยนตร์, Films, Hollywood, HOLLYWOOD INSIDER, ฮอลลีวูด, การเมือง, Politics, หนัง