ในเมืองใหญ่วันธรรมดาช่วง 7 โมงเช้า เป็นที่รู้กันดีว่า ‘บนถนน’ ในเมืองหลวงมีการจราจรที่คับคั่ง ทุกคนต่างต้องพาตัวเองไปให้ถึงจุดหมายให้ทันเวลา 

‘ความเสี่ยงบนท้องถนน’ คือปัจจัยความเสี่ยงหลักที่คนเมืองเผชิญอยู่แทบทุกวัน แน่นอนว่าการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนย่อมเกิดจากหลายปัจจัย แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ‘การกระจุกตัว’ ของเศรษฐกิจแนวดิ่ง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่บีบอัดให้ผู้คนต้องเข้าไปใช้ชีวิตในพื้นที่เดียวกัน ยิ่งบนถนน อุบัติเหตุยิ่งเกิดง่ายมากขึ้นเป็นเท่าตัว 

จากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุพบว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตจากจราจรไปแล้วมากกว่า 3,500 ราย และบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 1.8 แสนคน แน่นอนว่าไม่มีใครอยากเผชิญกับ ‘ความเสี่ยง’ แต่ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันความเสี่ยงได้หากเรามีประกันรถยนต์ที่ช่วยในการจัดการบริหารความเสี่ยงยามเกิดวิกฤตที่คาดไม่ถึง 

ซมโปะ ประกันภัย คือใคร

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Sompo Holdings ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการประกันภัยที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในญี่ปุ่นมานานกว่าศตวรรษ โดยที่มีประวัติอย่างยาวนานในการดำเนินธุรกิจในญี่ปุ่นมากว่า 135 ปี และดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนความต้องการของคนไทยได้อย่างดี ผ่านการศึกษา การวิจัย และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของคนไทย 

ในประเทศไทย ซมโปะ ประกันภัย มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจ และลูกค้าบุคคล ซึ่งมีทั้งประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยการเดินทาง ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ และประกันภัยอื่นๆ ซึ่งครอบคลุมในทุกความเสี่ยงโดยเฉพาะความเสี่ยงบนท้องถนน

ในปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนไทยเผชิญ ‘ความเสี่ยงบนท้องถนน’ อย่างไร

ก่อนอื่นความเสี่ยงคืออะไร ‘ความเสี่ยง’ คือผลที่ออกมาต่างจากที่เราคาดคิดไว้ ในขณะเดียวกัน ‘ความเสี่ยงส่วนบุคคล’ คือตั้งแต่ก้าวขาเดินออกจากบ้าน ทุกคนย่อมมีโอกาสประสบอุบัติเหตุ แม้ไม่มีมาใครชนก็อาจหกล้มเองได้ อุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ นั่นคือความเสี่ยงส่วนบุคคล

เมื่อบุคคลหลายคนเริ่มมาใช้ชีวิตในพื้นที่เดียวกัน โดยเฉพาะในเมืองที่ผู้คนมากมาย ความเสี่ยงต่างๆ จึงมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น ยิ่งเมืองที่มีการคมนาคมหนาแน่น ย่อมส่งผลความเสี่ยงที่ยิ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว และช่วงนี้ที่โควิด-19 คลี่คลายเราสังเกตเห็นรถกลับมาติดมากขึ้น ‘ความเสี่ยงบนท้องถนน’ จึงถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงหลักที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ และความเสี่ยงบนท้องถนนอาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งสภาพถนน สภาพคนขับ และสถานการณ์ในตอนนั้นประกอบกัน 

คนนิยามกันว่า ‘ซื้อประกัน’ ไม่ต่างจากการ ‘ซื้อความเสี่ยง’

จริงๆ คือการซื้อโอกาสที่ทำให้เราเสียทรัพย์สินน้อยลงเมื่อเจอปัญหาหรือสิ่งที่ไม่คาดคิด ในกรณีที่เราประสบอุบัติเหตุแล้วต้องจ่ายเงิน แต่สามารถจ่ายน้อยลงนั่นเอง ไม่มีใครรู้อนาคต กลับกันหากเกิดอะไรขึ้นแล้วเราไม่ได้ซื้อความเสี่ยง เราอาจต้องจ่ายเงินในสัดส่วนที่สูงจนทำให้ชีวิต หรือธุรกิจไปต่อไม่ได้ ซ้ำร้ายต้องไปกู้หนี้ยืมสิน แต่หากได้ซื้อความเสี่ยงจากองค์กรหรือบริษัทที่เชื่อถือได้ การวางแผนชีวิตก็จะง่ายขึ้น

อาจจะเรียกง่ายๆ ประกันเสมือนเป็นแผนสำรองของชีวิต เมื่อเราวางแผนการใช้ชีวิต ทั้งในส่วนของชีวิตประจำวันด้วยและชีวิตการงาน แต่เมื่อแผนของเราต้องประสบปัญหาที่ไม่คาดคิด ทำให้ชีวิตไม่สามารถไปต่อได้ สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นอุปสรรคในแผนชีวิตดังกล่าว ดังนั้นประกันจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราโฟกัสกับแผนชีวิตหลักของเรา แน่นอนว่าไม่ได้ช่วยคุ้มครองทั้งหมด แต่สำคัญคือช่วยในเรื่องของการเงินได้ในระดับหนึ่ง ยามมีเหตุฉุกเฉินก็ไม่ต้องมากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดั่งที่หลายคนนิยามว่าเป็นการ ‘ซื้อความเสี่ยง’

ทำไมถึงสนใจด้าน ประกันภัย และเข้ามาเป็นซีอีโอซมโปะ ประกันภัย ได้อย่างไร

ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้บริหาร ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) เราเริ่มเรียนสถิติประกันภัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะชอบวิชาสถิติ และที่สำคัญชอบการคาดการณ์ หรือการพยากรณ์ เช่น จากสถิติเช่นนี้บ่งบอกอะไร อนาคตจะเป็นเช่นไร นอกจากนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนช่างสังเกต ชอบสังเกตพฤติกรรม ซึ่งทุกอย่างสามารถถอดมาเป็นสมการตัวเลขได้ทั้งหมด 

สิ่งเหล่านี้ไม่ต่างจากการทำประกัน คือการทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้ออกมาเป็นตัวเลข และความเสี่ยงเหล่านี้มีมูลค่าเท่าไร เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ จนมาเป็นอาจารย์ให้กับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ควบคู่ตำแหน่งที่ปรึกษาของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยหลายแห่ง เราได้ใช้ประสบการณ์จริงและได้เอาความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้จริงๆ 

กระทั่งได้รับโอกาสสำคัญในการรับตำแหน่งซีอีโอ บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มาถึงตรงนี้ ในหัวเรามีแต่คำว่า ‘พร้อม’ ส่วนตัวเราเป็นคนกล้าตัดสินใจ รอบคอบ และรวดเร็ว ดังนั้นจะรู้สึกไม่ดีหากไม่ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ต่างจากการได้เลือกความคุ้มครองด้วยตนเอง ดังนั้นการคิดผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงต้องถามตัวเองก่อนอยู่เสมอว่าดีและคุ้มค่าพอสำหรับตัวเองแล้วหรือยัง

 ‘การกล้าตัดสินใจ’ ในสไตล์ CEO ซมโปะ พิจารณาจากอะไรบ้าง

เมื่อได้มานั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ถึงได้รู้ว่านี่เป็นสิ่งที่ทำใช่สำหรับเรา การกล้าคิด กล้าตัดสินใจ นั่นคือกุญแจสำคัญของการเป็นซีอีโอ แต่การตัดสินใจสำหรับเราต้องมาจากทีมทุกส่วนด้วย ยิ่งการทำงานในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่ซีอีโอสั่งแล้วคนที่เหลือตั้งหน้าตั้งตาทำ แต่ต้องพูดคุยด้วยเหตุผล เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และหารือ วิเคราะห์ปัญญาอย่างแท้จริงคือทางออกที่เราคิดว่าใช่ 

ซึ่งวิธีการนี้เราซึมซับมาจากชาวญี่ปุ่น ที่เขาใส่ใจกับทุกคน คุยกันจนทุกคนเห็นด้วย คือคนญี่ปุ่นเขาจะเน้นเรื่องความสงบข้างในจิตใจ (Peaceful) เขาให้ความสำคัญกับ ‘งาน’ มาพร้อมกับ ‘ความสุข’ 

ซมโปะกล่าวมาตลอดว่า ‘การดูแลคนไทยด้วยหัวใจแบบญี่ปุ่น’ ต้องดูแลทั้งลูกค้าและพนักงาน หมายความว่าอย่างไร  

อย่างที่รู้กันว่าคนญี่ปุ่นมีนิสัยเป็นระเบียบ ทำอะไรจะเน้นความเรียบร้อยจริงจัง ในเมื่อบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นมาเปิดตลาดที่เมืองไทย เขาก็ต้องปรับตัวกับประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้รู้จักกับคนไทยที่เขาจะต้องดูแล

ดูแลหัวใจแบบญี่ปุ่นสำหรับซมโปะมี 2 ความหมาย คือดูแลลูกค้าเป็นหลักเพราะเราเน้นความใส่ใจและดูแลผู้บริโภคเป็นหลัก (Customer Focus) ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันภัยและให้บริการด้วยความจริงใจตามมาตรฐานญี่ปุ่น ต่อมาคือการดูแลและ ‘พัฒนา’ คนในองค์กร ภายในบริษัทซมโปะ เรามีวัฒนธรรมองค์กรแบบผสมระหว่างคนไทย-ญี่ปุ่นที่ได้ทำงานร่วมกัน

ส่วนหัวใจที่เราได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นคือ ความจริงใจ ใส่ใจ ทุ่มเท เขาจะทำจนสำเร็จและไม่ยอมถอดใจล้มเลิกง่ายๆ องค์กรคนไทยอาจจะยืดหยุ่นหรือเรียกว่าแผนอาจจะไม่ตายตัว ในขณะที่องค์กรญี่ปุ่นเป็นคนที่ตามแผนอย่างจริงจัง ดังนั้นเวลามารวมกันระหว่าง 2 วัฒนธรรมจึงเป็นอะไรที่ลงตัว ดูแลคนไทยที่ชื่นชอบ ‘ความอิสระ’ ในแบบหัวใจญี่ปุ่นที่มีความ ‘ใส่ใจ’ และ ‘ไม่ยอมแพ้’ ต่อปัญหา นั่นคือการดูแลของซมโปะที่ผ่านมา 

ท้าทายไหมกับวัฒนธรรมองค์กรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

ความต่างเวลามารวมกัน สิ่งที่ดีที่สุดคือการมาคุยกันแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ดังนั้นเราไม่กลัวความต่าง แต่เรากลัวการไม่คุยไม่เรียนรู้ระหว่างกันมากกว่า ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ก่อนมาเขาจะเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร เขาเรียนวัฒนธรรมประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด อ่าน เขียน เราเคยบอกว่าคุยกันเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ เขาบอกไม่ เขาอยากเรียนภาษาไทยจะได้รู้วัฒนธรรมอย่างเข้าใจ และคนญี่ปุ่นยังเคร่งครัดเรื่องมารยาทและการวางแผนชีวิต

มนุษย์มีความหลากหลายและความต้องการที่แตกต่างกัน ซมโปะ มีวิธีการออกแบบความคุ้มครองอย่างไรให้ตรงใจกับความต้องการดังกล่าว

เราเดินหน้าพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย

1. การส่งมอบประกันภัยที่ดี(Quality Products) ออกแบบกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับทุกคนอย่างรอบคอบเราเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ โดยประกันภัยแต่ละรูปแบบที่ซมโปะได้คิดค้นและพัฒนา เราจะยึดตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทำการศึกษาและทดลอง เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการ ให้มีความสะดวกและเหมาะสมควบคู่ไปกับการดูแลที่ดี ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและ Innovation ใหม่ๆ มาร่วมพัฒนา 

2. Leverage data & Technology การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราดึงจุดแข็งของคนไทย คือคนไทยเป็นคนช่างคิด มีความครีเอทีฟ โดยเฉพาะการคิดนอกกรอบ ส่วนคนญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยขันนอตให้เข้าที่ อาจจะพูดได้ว่า เรามีคนไทยเป็นแนวหน้า แต่ขณะเดียวกันก็มีแบ็คอัพที่แข็งแรง  เวลาคิดผลิตภัณฑ์อะไรเราคำนึงถึง ‘What’ กับ ‘Why’ ก่อนเสมอ ถ้าไปคิด ‘How’ ก่อนคงเป็นเรื่องยาก เราต้องคิดก่อนว่า Why ทำไมเราอยากมีประกัน ถ้ามีจะเป็นแบบใด เช่น ประกันรถยนต์ SOMPO ‘ตามใจ’ หัวใจหลักก็คือ เราใช้รถบ้างไม่ใช้บ้าง หรือบางทีนักธุรกิจที่เดินทางบ่อยๆ ไม่ได้ใช้รถยนต์นานจึงไม่จำเป็นต้องซื้อประกันเป็นปี ดังนั้นการให้ลูกค้าได้เลือกจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการและความหลากหลายได้ 

ประกอบกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยพื้นฐาน 3 อย่าง คือ 1. ทุนประกันที่เหมาะสม 2. ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และ 3. ราคาเบี้ยประกันที่จับต้องได้ โดยรวมมาจากกลไกทางตัวเลขทั้งหมด แต่หลักสำคัญที่เราท่องจำไว้เสมอคือ ‘เบี้ยและทุนประกันต้องอยู่ในเรทที่คนรู้สึกว่าคุ้มครองเขาได้’ ฉะนั้นเราต้องให้ราคาความเสี่ยงที่เป็นธรรม เพราะถ้าเปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นธรรมได้ เราจะสามารถเปลี่ยนให้ผู้บริโภคให้หันมาดูแลความปลอดภัยตัวเองมากขึ้น 

3. การสร้างความเชื่อมั่น (Trust) ให้ลูกค้า ผ่านการบริการที่มีคุณภาพแบบญี่ปุ่น เชื่อถือได้ คอยดูแลเมื่อลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ อย่างประกันรถยนต์  Sompo ตามใจ เราการันตีถึงจุดเกิดเหตุภายใน 30 นาทีและลูกค้าสามารถดู status การเคลมผ่าน LINE @SompoThailand ได้ด้วยตัวเอง ด้วยทั้งหมดนี้เราจึงเชื่อว่าซมโปะ มีวิธีการออกแบบความคุ้มครองทีตรงใจและตรงกับความต้องการของทุกคน

ลูกค้าจะได้อะไรจากแนวความคิดแบบนี้

เราคิดเสมอว่าลูกค้าคือคนสำคัญ (Customer Focus) การคิดทั้งผลิตภัณฑ์และราคา ทุกจุดมาจากที่เราเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง และญี่ปุ่นคือมีความเนี้ยบและเช็กลิสต์ทุกจุด ขณะเดียวกันนั่นเพราะเราแคร์เรื่องคนมาก เวลาบอกบริษัทประสบความสำเร็จ นั่นหมายความว่าอันดับแรกคนต้อง ‘มีความสุข’ ทั้งลูกค้าและคนในองค์กร อาจเรียกว่าเป็นความสำเร็จของผู้บริหาร ที่มีหน้าที่ในการผลักดันพัฒนาคนไปพร้อมกับการดูแลลูกค้าให้เกิดพฤติกรรมที่ปลอดภัย

ช่วยยกตัวอย่างเคสที่แสดงให้เห็นว่า ซมโปะ ประกันภัย ช่วยดูแลความเสี่ยงภัยอย่างไร

ในการออกแบบประกันภัย เราต้องออกแบบเพื่อให้คนรู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่ไม่ดูแลตัวเองจนกลายเป็นรู้สึกว่า พอเรามีประกันภัยแล้วจะทำอะไรโลดโผนก็ได้ อย่างที่รู้กันการหาหมอที่ต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย จินตนาการว่าถ้าเราป่วยไข้ บาดเจ็บฉุกเฉินจะติดต่อใครได้

ช่วงพายุไต้ฝุ่นฮากิบิส (Typhoon Hagibis) พัดถล่มญี่ปุ่นช่วงปี 2019 ช่วงนั้น นักท่องเที่ยวที่กำลังเดินทางไปญี่ปุ่นต่างซื้อประกันการเดินทางของเรา แต่มีข่าวว่าพายุกำลังจะเข้าในอีกไม่กี่วัน ในเมื่อเรารู้ว่ามีพายุมาวันไหน หลายคนก็อยากเดินทางกลับ แต่หลายกรมธรรม์เขียนว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสายการบินเฉพาะสายการบินล่าช้าเท่านั้น แต่เรานึกถึงลูกค้าเป็นหลัก เราย้อนตั้งคำถามเดียวกันว่า ถ้าเป็นเราจะไม่กลับหรือ เป็นใครก็อยากกลับ คงไม่มีกระจิตกระใจจะเที่ยว เราถามทุกคนก่อนเลยว่าเจตนารมณ์เราคืออะไร เราห่วงเรื่องไฟลท์บินดีเลย์อย่างเดียวเหรอ แต่เขากำลังเผชิญกับพายุนี่ก็ถือเป็น ‘ความเสี่ยง’ ที่อาจถึงชีวิตได้เลย เราจึงตัดสินใจจ่ายค่าเครื่องให้ทันที ซึ่งคิดในแง่หนึ่งเป็นเราก็กลับ ยิ่งถ้าคิดในมุมบริษัทนี่ยิ่งต้องกลับใหญ่เลย เพราะหากอยู่ต่อแล้วเกิดเหตุร้ายแรง ลูกค้าและครอบครัวอาจจะยิ่งลำบาก 

ในช่วงนั้นเราทำงานกัน 24 ชั่วโมง ติดต่อนักสื่อสารด้านวิกฤต ที่เก่งในเรื่องการสื่อสารในเวลาขับคันมาเป็นคนช่วยตอบคำถามต่างๆ เหตุการณ์นี้เตือนใจเราว่า ก่อนที่เราจะออกแบบผลิตภัณฑ์ประกัน เราจะตั้งคำถามเดียวกันนี้กับตัวเราเสมอว่า ถ้าเราเป็นลูกค้าที่อยู่ในสถานการณ์นั้นอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด 

กลยุทธ์และเป้าหมายของซมโปะในอนาคต 

จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ทุกบริษัทประกันภัยต่างตื่นตัวกับการกลับมาคึกคักของตลาด ซึ่งความท้าทายของผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย ยังมาจากการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาด้านการบริการให้มีความหลากหลาย และครอบคลุมลูกค้าทุกภาคส่วน รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือคำนวนเบี้ยประกันให้แม่นยำและเหมาะสม เพื่อพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้าและคู่ค้า 

ความท้าทายอย่างแรกคือ ชื่อเราเป็นญี่ปุ่น ซมโปะ (Sompo) มีความหมายตรงตัวว่า ‘ประกันภัย’ อาจจะเป็นชื่อที่คนไทยยังไม่คุ้นชินแต่จุดแข็งของเราคือ มีบริษัทแม่ที่แข็งแรง ซึ่งเติบโตและครองใจคนญี่ปุ่นมานานกว่า 135 ปี ในช่วงที่ซมโปะเข้ามาในประเทศไทยแรกๆ ก็เป็นผู้ให้บริการรับประกันโรงงานฐานผลิตอะไหล่รถยนต์ต่างๆ โดยมีเป้าหมายทำให้ทุกโรงงานมีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน และทั่วโลกประเมินประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก นอกจากจีนและอินเดีย พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าทำธุรกิจที่สุด ทั้งในส่วนแผนที่เชิงยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ

เราอาจจะเคยได้ข่าวว่า บริษัทต่างๆ อาจจะย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศไป แต่ความจริงตรงกันข้ามว่า บริษัทใหญ่เริ่มกลับกันมา เพราะประเทศเรา เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนครบถ้วน ทั้งการคมนาคม และผู้คนที่น่ารัก อัธยาศัยดี

ได้เรียนรู้อะไรจากการเข้ามาเป็น ซีอีโอ ซมโปะ ประกันภัยบ้าง

อย่างแรกที่รู้สึกเลยคือรู้จักคำว่า ‘รอ’ เพราะเมื่อก่อนเราเป็นคนใจร้อน แต่ปรัชญาญี่ปุ่นบอกกับเราว่า ใช้ชีวิตให้ช้าลงอีกสักนิดนึง จึงเริ่มรู้จักการรอ บริษัทแม่จะไม่ถามแล้วว่า ปีนี้ซมโปะไทยจะทำอะไร แต่เขาจะถามว่าปีนี้จะไม่ทำอะไรมากกว่า (หัวเราะ) และเราโฟกัสเรื่องการทำน้อยแต่ได้มาก เน้นพัฒนา ‘ความสุข’ และ ‘พัฒนาคน’ ไปพร้อมกัน ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นบริษัทที่ให้โอกาส เราให้โอกาสเด็กจบใหม่หรือคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ เหตุผลเพราะอยากให้เขาเริ่มต้นวิธีการการคิดแบบลูกค้าก่อน

Fact Box

  • บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Sompo Holdings ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการประกันภัยที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในญี่ปุ่นมานานกว่าศตวรรษ โดยที่มีประวัติอย่างยาวนานในการดำเนินธุรกิจในญี่ปุ่นมากว่า 135 ปี และดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 25 ปี นอกจากนี้ SOMPO ยังให้บริการลูกค้าใน 28 ประเทศ และเป็นผู้ให้บริการประกันวินาศภัยชั้นนำในเอเชีย
  • ก่อนที่ ผศ.ดร.ชญณา ศิริภิรมย์ จะเข้ามารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) เธอเริ่มเรียนสถิติประกันภัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อด้าน Actuarial Science มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้มาเป็นอาจารย์ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • SOMPO ตามใจ เป็นประกันภัยรถยนต์ตัวใหม่ล่าสุดจากบริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) สามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามใจ มีให้เลือกสรรได้ทั้ง ‘SOMPO ตามใจ แบบรายเดือนต่อเนื่อง’ หรือที่เรียกว่า ‘ Subscription’ ทำให้จ่ายค่าดอกเบี้ยในราคาถูก แถมไม่มีดอกเบี้ย และ ‘SOMPO ตามใจ แบบรายวัน’ ที่ให้เราเลือกซื้อได้ตั้งแต่ 1-7 วัน เหมาะสำหรับคนใช้รถน้อย จะขับวันไหนก็ค่อยซื้อประกัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของคนทุกวัย 
  • อ่าน SOMPO ตามใจได้ทาง https://hi.switchy.io/Cmcy
  • เช็กเบี้ยประกันเพิ่มเติมได้ทาง https://hi.switchy.io/Cmct 
Tags: , , ,