ตอนที่เกมซูเปอร์มาริโอภาคสอง (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Super Mario USA หรือ Super Mario Bros. 2) กำลังวางแผนสร้างกันอยู่ในยุคแปดศูนย์นั้น มีคนเสนอตัวละครแปลกประหลาดขึ้นมาตัวหนึ่ง

ตัวละครที่ว่านี้มีชื่อในภาคภาษาอังกฤษว่า เบอร์โด (Birdo) แต่มีชื่อในภาคภาษาญี่ปุ่นว่า แคทเธอรีน (Catherine) มีลักษณะเป็นตัวการ์ตูนแบบที่เรียกว่า Anthropomorphic คือไม่ใช่คน แต่ทำให้มีลักษณะเลียนแบบคน เจ้าเบอร์โดของเรามีตัวสีชมพู รูจมูก (หรือปากก็ไม่แน่ใจ) เป็นรูใหญ่รูเดียว มีขนตางอนเช้ง ติดโบว์สีแดง แลดูน่ารักและแอบมีความ ‘เผ็ช’ อยู่ในตัวเล็กน้อย ด้วยการใส่แวนเพชรวงเป้ง

​คนที่เล่นเกมซูเปอร์มาริโอภาคนี้ในเวอร์ชั่นหลังๆ จะคิดว่าเบอร์โด (หรือแคทเธอรีน) เป็นผู้หญิง แต่ที่จริงแล้ว ตอนที่คิดค้นกันขึ้นมา และเบอร์โดที่ปรากฏอยู่ในเวอร์ชั่นแรกนั้น ผู้สร้างตั้งใจ (และมีเขียนไว้ในคู่มือ) ว่าเบอร์โดเป็นเด็กชายที่ ‘คิดว่าตัวเองเป็นเด็กหญิง’ และอยากให้คนอื่นเรียกเธอว่า ‘เบอร์เด็ตตา’ (Birdetta) หรือแคธี (Cathy) มากกว่า

พูดง่ายๆ ก็คือ เบอร์โดเป็น Transgender นั่นเอง!

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกมออกวางตลาดแล้ว ‘เพศสภาพ’ ของเบอร์โดก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก ดังนั้นในตอนหลัง แม้ว่าเบอร์โดจะหน้าตาเหมือนเดิม แต่คำบรรยายเบอร์โดที่ปรากฏในคู่มือก็ไม่ได้บอกอีกต่อไปว่าเบอร์โดคือเด็กผู้ชายที่เชื่อว่าตัวเองเป็นเด็กผู้หญิง ดังนั้น เพศสภาพของเบอร์โดจึงคลุมเครือ หลายคนคิดว่าเธอเป็นเด็กหญิงธรรมดาๆ

​เบอร์โดต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะสามารถรื้อฟื้นสถานภาพความเป็น Transgender ของตัวเองได้ นั่นก็คือเมื่อมาปรากฏตัวในวิดีโอเกมชื่อ Captain Rainbow ในแพลตฟอร์มอย่าง Wii แต่ก็มีเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น

 

​เบอร์โดถือเป็นตัวละคร ‘ข้ามเพศ’ ตัวแรกในวิดีโอเกม ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้นะครับ เพราะเบอร์โดปรากฏตัวในราวปี 1988 แต่ถ้าพูดถึงตัวละครรักเพศเดียวกันตัวแรก (คือมีสถานะเป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็น ‘ตัว’ คือเป็น Anthropomorphic เหมือนเบอร์โด) ก็ต้องเป็นเกมชื่อ Moonmist ซึ่งเป็นเกมผจญภัยแบบใช้ตัวหนังสือ (Text Adventure) ที่ออกมาตั้งแต่ปี 1986 โดยใน Moonmist มีตัวละครตัวหนึ่งซึ่งเป็นศิลปินหญิง เธอหึงหวงตัวละครหญิงอีกตัวหนึ่งที่ต้องแต่งงานกับผู้ชาย นับเป็นตัวละครตัวแรกที่ปรากฏในวิดีโอเกมในฐานะคนรักเพศเดียวกัน

​คำถามที่อาจเกิดขึ้นกับหลายคนในตอนนี้ก็คือ เอ… แล้วการที่วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมมันเริ่มมีความหลากหลายทางเพศให้เห็นในราวสามสิบปีก่อนโน้น ถือว่าเป็นเรื่องที่เร็วหรือช้ากันแน่หนอ

ย้อนกลับไปต้นศตวรรษที่แล้วโน้น คือในราวยุคสองศูนย์ถึงสามศูนย์ ใช่! ตอนนั้นยังไม่มีเกมคอมพิวเตอร์หรอกนะครับ แต่มี ‘ความบันเทิง’ ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่คล้ายกัน – นั่นก็คือภาพยนตร์

​ในราวปี 1934 เกิดสิ่งที่เรียกว่า Motion Picture Production Code หรือเรียกสั้นๆ ว่า The Hays Code ขึ้นมา ตามชื่อของวิล เฮย์ส (Will Hays) ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมดูแลภาพยนตร์ Hays Code นี่ เข้ามากำกับควบคุมศีลธรรมในภาพยนตร์อย่างเต็มที่ในหลายๆ เรื่องนะครับ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันด้วย จึงมีการควบคุมฉากที่คนเพศเดียวกันจูบกัน (ในตอนนั้นที่ลือลั่นสนั่นเมืองก็คือการจูบกับผู้หญิงของมาร์ลีน ดีทริช ดาราชื่อดัง) รวมไปถึงความ ‘ผิดเพี้ยน’ ทางเพศอื่นๆ เช่น การถ้ำมอง หรือการเผยแสดงให้เห็นเรือนร่างของผู้หญิงมากเกินไป

ในวงการเกมอาจไม่ได้มี Hays Code มาคอยกำกับเนื้อหา แต่นักเขียนเกมอย่างริฮานนา แพร็ตเช็ต (Rhianna Pratchett) เคยบอกไว้ว%

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , ,